วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

INTRODUCE MYSELF

ชื่อ นางสาวฟาติหะฮ์  บูงอ
ชื่อเล่น เป็ด
นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยชั้นปีที่ 3
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
                                                        
                                                                 .........GOOD  LUCK........



      

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

คำราชาศัพท์

ความหมายของคำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่างๆ คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของไทย แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงในความหมายเดียวกัน และเป็น ลักษณะพิเศษของภาษาไทย โดยเฉพาะ ซึ่งใช้กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้
  1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
  2. พระบรมวงศานุวงศ์
  3. พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
  4. ขุนนาง ข้าราชการ
  5. สุภาพชน
ที่มา:http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php

คำราชาศัพท์หมวดเครือญาติ

คำ                                                             คำราชาศัพท์
 ปู่,ตา                                                          พระอัยกา
 ย่า,ยาย                                                      พระอัยกี,พระอัยยิกา
 พ่อ                                                            พระชนก,พระราชบิดา
 แม่                                                             พระชนนี,พระราชมารดา  
 สามี                                                           พระราชสวามี,พระภัสดา
 ภรรยา                                                       พระราชินี,พระมเหสี,พระชายา
 ลูกเขย                                                        พระชามาดา
 ลูกสะใภ้                                                      พระสุณิสา

ที่มา: http://www.dek-d.com/board/view

คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้ทั่วไป

ราชาศัพท์                                                       ความหมาย

โต๊ะทรงพระอักษร                                           โต๊ะเขียนหนังสือ
โต๊ะข้างพระที่                                                  โต๊ะเล็กข้างเตียงนอน
พระแท่น                                                           เตียง ที่นั่ง
พระแท่นบรรทม                                                เตียงนอน
พระราชบรรจถรณ์                                            ที่นอน
ตั่ง                                                                     ที่นั่งไม่มีพนัก
พระสุจหนี่                                                        ผ้าที่ปูลาดไว้สำหรับประทับ หรือตั้งพระเก้าอี้
พระยี่ภู่                                                             ฟูก นวมที่ปูลาดไว้

ที่มา: http://www.thaigoodview.com/node/74628

สุภาษิตไทย

กระต่ายตื่นตูมหมายถึง เมื่อได้ยินได้ฟังข่าวร้ายใดๆ ก็ตื่นตกใจเพราะเชื่อทันที โดยไม่พิจารณาเสียก่อนว่าเป็นจริงหรือไม่ ถ้าเชื่อโดยไม่ได้พิจารณาให้ถ่องแท้ อาจทำให้เกิดความเสียหายได้
กิ้งก่าได้ทองหมายถึง คนที่ไม่มีความสำคัญ ไม่เคยมีสมบัติและไม่มีความคิดด้วย เมื่อได้รับลาภยศแม้เพียงเล็กน้อย ก็คิดว่าตนมีความสำคัญเหนือผู้อื่น เกิดความเห่อเหิมลืมตัวแสดงความเย่อหยิ่งจองหองวางท่าใหญ่โต คนเช่นนี้ ย่อมเป็นที่รังเกียจของคนเป็นอันมาก
ขี่ช้างจับตั๊กแตนหมายถึง งานที่จะทำงานเป็นงานเล็กน้อย แต่ทำราวกับเป็นงานใหญ่โต จัดหาผู้คน เครื่องมือ เครื่องใช้มากมาย โดยไม่จำเป็นสำหรับงานนั้น ใช้เป็นคำตำหนิผู้ที่เตรียมการใหญ่โตกว่างานที่จะต้องทำ ทำให้เสียเงินทองและเวลามากไปเปล่าๆ ผลที่ได้จะไม่คุ้มกับที่เสียไป
เข็นครกขึ้นภูเขาหมายถึง การทำงานที่ยากลำบาก จะต้องมีความบากบั่น พากเพียร อุตสาหะ มีมานะอดทน ไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย และ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ ทั้งสิ้น งานนั้นจึงจะสำเร็จได้
จับปลาสองมือหมายถึง ผู้ที่ไม่ตัดสินใจให้แน่นอนว่าควรจะทำสิ่งใด เห็นไปว่าสิ่งโน้นก็ดี สิ่งนี้ก็ดี เลยทำหมดทุกอย่าง ทำให้ต้องแบ่งความคิด เวลา และกำลังกาย สำหรับงานเหล่านั้น เป็นเหตุให้งานแต่ละอย่างไม่ได้รับผลดีเท่าที่ควรจะได้ ในที่สุดเขาจะทำงานไม่ได้ดีเลยแม้แต่สักอย่างเดียว
http://www.tungsong.com/Supasit/index.html

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นิทานอีสป

                                                        เรื่อง ต้นสนอวดดี


ต้นสนมักจะคิดว่าตนนั้นมีความสวยงามกว่าต้นฉำฉาอีกทั้งยังมีประโยชน์มากกว่าด้วย
"คนต้องการต้นสนอย่างเราเพื่อไปสร้างเป็นที่อยู่อาศัยและข้าวของเตรื่องใช้ต่างๆ"  ต้นสนคุยข่มต้นฉำฉาที่ยืนอยู่ใกล้ๆกัน "แต่เจ้าน่ะไม่เห็นจะเป็นประโยชน์ต่อใครเลย"
 "ข้ารู้ตัวดีว่าข้านั้นต่ำต้อยด้อยค่ากว่าท่านนัก แต่ลองมองดูขางหน้านั่นสิมีคนเอาเลื่อยกับขวานมาแล้วทีนี้ท่านยังอยากเป็นต้นสนหรือต้นฉำฉาอย่างข้าล่ะ"
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า........
เที่ยวโอ้อวด ความดี ความเด่น ย่อมเป็นโทษเป็นภัยแก่ตนเอง
ต้นฉำฉา